วันอังคารที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16


นำเสนอ THAI TEACHER TV , RESEARCH 

Knowledge
THAI TEACHER TV
 - ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
 -การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  - ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการรณ์แบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้
- การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
- การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางธรมชาติเนื้อสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
- ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
Teachers TV
 - เรียนรู้วิทยาศาสตร์
  เสียงในการได้ยิน
 - เรื่องราวของเสียง 
 - จิตวิทยาศาตร์
 การทำอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ การสร้างบรรยากาศการเรียน




                                                    สารสัมพันธ์บ้านกับโรงเรียน






                                                                     






การนำไปประยุกต์ใช้ในการสอน   (Appllications)

    -สำหรับการนำ THAI TEACHER TV , RESEARCH   ได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากมายและได้ประสบการณ์ ในการนำไปบูรณาการใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นการเรียนรู้หลายๆวิธี ซ่งที่เพื่อนๆได้ออกมานำเสนอ ล้วนแต่มีประโยชน์ทั้งหมด การจัดการเรียนการสอนโดยล้วนอาศัยจากทักษะเหล่านี้โดยการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ 
    - หลังจากทำกิจกรรมบ้านกับโรงเรียน วันนี้สามารถเรียนรู้ได้หลายกหลายแนวทาง ทั้งยังประสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวของเด็กๆ และครูสามารถบอกความรู้ที่ผู้ปกครองจะสามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมที่บ้านได้อีกด้วย

การประเมินผล (Evaluation)
self           -  เข้าเรียนตรงต่อเเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ตั้งใจฟังเพื่อนรายงาน และ จดตามที่เพื่อนอ่านใจความสำคัญ สรุปย่อๆตามที่ตัวเองเข้าใจค่ะ
Friends    -  เพื่อนๆตั้งใจเรียน เป็นบางคน ในภาพรวมถือว่า ดีค่ะ เพื่อนที่ๆตั้งใจฟังอาจารย์สอนและร่วมกับตอบคำภาม ตามที่อาจารย์ถามในห้องเรียนค่ะ 
Teacher   -  อาจารย์จะคอยกระตุ้นใน นักศึกษามีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ใช้คำถามอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดกระบวนการคิดที่รวบยอด และอาจารย์ให้นำแผนการสอนแต่กลุ่ม กลับไปแก้ไขให้เรียบร้อย



ความลับของอากาศ


สรุป ความลับของอากาศ



   ลม คือ อากาศที่เคลื่อนที่ได้ อากาศนั้นจะอยู่รอบๆตัวเรา อากาศอยู่ได้ในทุกที่ มนุษย์ สัตว์ หรือพืช ต่างก็ใช้อากาศในการหายใจ ถึงเราจะมองอากาศไม่เห็นแต่อากาศก็มีตัวตน  อากาศไม่รูปร่างที่ตายตัวแต่จะแทรกตัวอยู่ อากาศต้องการที่อยู่ ถ้ามีอะไรมาแทนที่อากาศ อากาศก็จะเคลื่อนตัวออกไปทันที อากาศจะมีน้ำหนักแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความร้อนและความเย็นอากาศบริเวณนั้น

   อากาศร้อนจะมีน้ำหนักที่เบาลงทำให้วัตถุลอยขึ้น อากาศที่เราเป่าออกจากปากก็ร้อนเช่นกัน อากาศจะคอยปรับความสมดุลอยู่ตลอดเวลา ลมก็คืออากาศเย็นที่พัดผ่านเข้ามา พื้นโลกจะมีความร้อนไม่เท่ากัน ลมสามารถเปลี่ยนเส้นทางไปตามวัตถุที่ขวางทางอยู่ได้

   อากาศมีคุณสมบัติที่สำคัญมากมายที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์ เช่น แรงดันอากาศ " แรงดันอากาศ " คือ แรงที่อากาศกดลงพื้นผิวไปยังวัตถุต่างๆ แรงดันอากาศสามารถยกของหนักๆได้ อากาศร้อนมีแรงดันอากาศน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ








บันทึกอนุทินครั้งที 15

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     

    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 25 เดือน พฤศจิกายน 2557  


  กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น

      



ความรู้ที่ได้รับ (The Knowledgo Gained) 

  สำหรับวันนี้นำเสนองานวิจัยและบทโทรทัศน์ครูต่อจากสัปดาห์ก่อน

1.นางสาวธิดามาศ ศรีปาน
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง การกำเนิดของเสียง คือ ได้ฝึกทักษะการคิด การทดลอง การใช้คำถาม เช่น เสียงมาจากที่ไหนบ้าง มีความต่างกันอย่างไร

2.นางสาววรรนิศา นวลสุข
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัย คือ การเรียนรู้เรื่องสีจากสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเด็ก สิ่งที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่น ผัก ผลไม้ เด็กก็จะเกิดทักษะการสังเกต การจำแนกประเภท ทักษะการหาความสัมพันธ์ และทักษะการลงความเห็น

3.นางสาวพัชราพร พระนาค
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง สารอาหารในชีวิตประจำวัน คือ การเรียนรู้จากการปรุงอาหารเกิดจาการผสมส่วนประกอบต่างๆเข้าด้วยกัน ให้ได้รสชาติของอาหารตามที่ต้องการผลลัพธ์ที่ได้ คือ การเรียนรู้ในการสามารถปรุงอาหารเป็น รู้จักรสชาติของอาหาร เช่น เผ็ด เปรี้ยว หวาน เค็ม

4.นางสาวสุนิสา สะแลแม
   นำเสนอโทรทัศน์ครู เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช คือ สอนเรื่องการเจริญเติบโตของพืช โดยใช้สื่อการเรียนรู้นอกห้องเรียน ให้เด็กสังเกตการเจริญเติมโตของพืช จากนั้นให้เด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ไฟฟ้าและพันธุ์พืช จากการที่เด็กได้ลงมือกระทำ มีสื่อ มีอุปกรณ์ให้เด็กได้ทำการทดลอง เด็กก็จะเกิดทักษะกระบวนการทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น

5.นางสาวศิรัวิมล หมั่นสนธิ์
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง การเสริมประสบการณ์เรื่องแสงที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย คือ กิจกรรมส่งเสริมให้เด็กแสวงหาความรู้ ซึ่งอยู่รอบๆตัวเรา แล้วนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมเสริมประสบการณ์เรื่องแสง เพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะของเด็กปฐมวัย

6.นางสาวอรชร ธนชัยวณิชกุล
   นำเสนองานวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะพื้นฐานของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมทำเครื่องดืื่มสมุนไพร คือ ทักษะที่ได้จากกิจกรรมนี้ ได้แก่ ทักษะการสังเกต ทักษะการจำแนก ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล 




กิจกรรมในห้องเรียน




"การทำวาฟเฟิล"




วัสดุอุปกรณ์ 


 1. ไข่ไก่ egg


 2. เนย Butter

 3. แป้ง powder

 4. น้ำ water

 5. ถ้วย cup

 6. ช้อน spoon



ขั้นตอนการทำ
- เริ่มผสมแป้งและตอกไข่ ใส่เนย เติมน้ำทีละนิด แล้วตีแป้งและส่วนประกอบอื่นๆให้เข้ากัน จนได้เนื้อแป้งที่ไม่เหลวและแข็งจนเกินไป
- เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการ ตักใส่ถ้วยตวงเพื่อนำไปอบ ขณะเทแป้งลงเครื่องอบ ควรเทตรงกลางเพื่อให้แป้งสามารถกระจายได้ทั่วถึง เมื่ออบเสร็จแล้วจะได้ วอฟเฟิล น่าตาน่าทานค่ะ 
เป็นขั้นตอนง่ายๆไม่ซับซ้อนสามารถทำเอง และ สอนเด็กปฐมวัยได้อีกด้วย








การนำไปประยุกต์ใช้   (Application)    

       

   สามารถนำความรู้ที่ได้จากการฟังเพื่อนออกมานำเสนอและที่อาจารย์อธิบายให้ฟังสามารถนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนในอนาคตได้เพราะบางกิจกรรมบางวิจัยที่ศึกษาสามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนเด็กในการจัดกิจกรรมที่หลากหลายให้กับเด็กได้เกี่ยวกับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้



ประเมินตนเอง (Self)

      ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น


 ประเมินเพื่อน (Friend)  

     เพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีทักษะมีการจัดกิจกรรมอย่างไรวิธีการทำการดำเนินกิจกรรมต่างๆมีการช่วยกันตอบคำถามกับอาจารย์อย่างสนุนสนานมีการพูดคุยโต้แย้งถึงข้อสงสัยที่เกิดขึ้นและร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนอย่างสนุกสนาน


 ประเมินอาจารย์ (Teacher)  

        อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการทำของงานวิจัยและการจัดกิจกรรมของโทรทัศน์ว่าเขาใช้วิธีอะไรมีการสอนอย่างไรมีการใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กเกิดข้อสงสัยและเกิดกระบวนการคิดการหาคำตอบมีการอธิบายและสรุปถึงเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนออย่างเข้าใจชัดเจน


บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกผลการเรียนรู้ประจำสัปดาห์     

    วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย วันที่ 18 เดือน พฤศจิกายน 2557  


  กลุ่มเรียน 102 เวลา 14.10 น. - 17.30 น

      



ความรู้ที่ได้รับ 

       นำเสนอแผนการสอน


สอนเรื่อง ชนิด และลักษณะ ของนกหงส์หยก


2. หน่วย สับปะรด


                              สอนเรื่องประโยชน์ของสับปะรด และ ข้อควรระวังของสับปะรด



 3.หน่วย ส้ม

                                            สอนเรื่อง ประโยชน์และข้อควรระวังของส้ม




   
  
  นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู 
  


 1.นางสาวกมลชนก  หยงสตาร์ (ของดิฉันเอง)
   
                             
 เรื่องโทรทัศน์ครู เรื่อง นม+สี+น้ำยาล้างจานสำหรับเด็กอนุบาล

       เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นพัฒนาการ การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิว เริ่มจากการเทน้ำนมใส่จาน หยดสีลงไปในนม(สีเป็นสีผสมอาหารปลอดภัยกับเด็ก)แล้วหยดน้ำยาล้างจานลงไป เราจะเห็นนมไหลเวียนแล้วพาสีวิ่งเป็นสายและลวดลายต่าง ๆ สาเหตุก็คือน้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลงไป นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่(กลายเป็น"กระแสนม")และวิ่งชนสีและพาสีวิ่งไปด้วย กลายเป็นลวดลายต่าง ๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยด ๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้(ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว)แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม น้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม เมื่อเด็ก ๆ เห็นการกระจายตัวของสี   เด็ก ๆ ตื่นเต้นและอยากที่จะออกมาเป็นตัวแทนในการทำการทดลอง เด็กทุกคนจะได้ปฏิบัติคนละหนึ่งขั้นตอน 

 2.นางสาว จุทาภรณ์  แก่นแก้ว 
 เรื่องสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรม 5 ประสาทสัมผัส

เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อสร้างความพร้อมพื้นฐาน ให้กับเด็กในด้านสังคม ร่างกาย
 สติปัญญา
กิจกรรมสร้างพื้นฐานการเรียนรู้กับกิจกรรมประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นการกระตุ้น ท้าทายความคิด ฝึกแก้ปัญหาและฝึกจินตนาการของมนุษย์ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะช่วยให้เด็กฉลาดได้
ครูใช้สื่อวัสดุอุปกรณ์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน กระตุ้นให้เด็กเกิดการรับรู้ที่ดี ตลอดทั้งให้เด็กได้เรียนรู้ตัวเอง และบุคคลอื่น 
กิจกรรมพัฒนาด้านสติปัญญา เสริมสร้างจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์

  3.นางสาว  รัตติพร     ยังชัย
เรื่องการพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรมศิลป
สร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.ให้เด็กเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ (Active Learning) การลงมือกระทำจริงด้วยตนเองการได้รับประสบการณ์ตรงจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

2.จัดกิจกรรมตามสภาพจริง (Authentic activity) การจัดกิกรรมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่เป็นการส่งเสริมดารเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

3. ด้านประสบการณ์เดิมของเด็ก (prior knowledge) การเรียนรู้สิ่งใหม่นั้นฐานมาจากประสบการณ์เดิมของเด็ก

4. สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็ก (Teacher and Child interaction) ครูต้องเป็นผู้ให้ คำแนะนำ กำลังใจ เอื้ออำนวยช่วยเหลือให้เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

5. สะท้อนความคิด (Reflective thinking) ระหว่างที่จัดกิจกรรมเรียนรู้ การสะท้อนความคิดเป็นลักษณะหนึ่งที่ต้องกระตุ้นให้เด็กเกิดความคิดไตร่ตรองถึงความเป็นไปได้เกี่ยวกับการกระทำที่ปฏิบัติลงไป

  
 4.นางสาว  อนุสรา     แก้วชู

 5.นางสาว  รัชดาภรณ์  มณีศรี

 6.นางสาว  น้ำผึ้ง       สุขประเสริฐ   เรื่อง ดินน้ำมันลอยได้อย่างไร



                                                กิจกรรมในห้องเรียน



"ไข่เทอริยากิ"

           เป็นกิจกรรมที่สามารถนำไปใช้สอนเด็กได้เพราะมีขั้นตอนไม่ยุ่งยากวิธีการทำก็ง่ายอุปกรณ์ส่วนผสมก็หาได้ทั่วไปแถมยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วยส่วนผสม 



ส่วนประกอบ

 1.ไข่ไก่     
  2.ข้าวสวย        
 3.ผักต่างๆ (แครอท /ต้นหอม)         
 4.ปูอัด    
 5.ซอสปรุงรส        
 6.เนย 

  วิธีการทำ        

1.ตีไข่ใส่ชาม     
 2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี       
 3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ         
4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้ 


การนำไปประยุกต์ใช้   (Application)                         

             สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผนการสอนการทำกิจกรรมต่างๆในห้องเรียนรวมถึงวิธีการสอนเทคนิคต่างๆสามารถนำไปใช้ในการสอนเด็กในอนาคตของเราได้จริง  เพราะการเขียนแผนรวมถึงวิธีการสอนเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องใช้สอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่จะเป็นครูต้องสามารถเขียนแผนการสอนและสามารถนำแผนที่เขียนนั้นไปสอนเด็กให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ได้อย่างถูกต้องและเป็นขั้นตอนและต้องเขียนแผนให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย


ประเมินตนเอง (Self)                

       ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอนและอธิบายถึงวิธีการสอนเทคนิคการสอนเด็กให้เด็กเข้าใจเป็นขั้นๆและสามารถที่จะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ได้จริงและนำไปพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพที่ดีขึ้น
ประเมินเพื่อน(Friends)                

       เพื่อนในห้องพูดคุยถึงข้อสงสัยในเรื่องที่เพื่อนออกมานำเสนอว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนที่เพื่อนควรปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นเพื่อนๆร่วมทำกิจกรรมและสนใจฟังเพื่อนออกมานำเสนอได้ดี และร่วมกันทำกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดี
ประเมินอาจารย์  (Teacher)               

        อาจารย์มีการถามถึงวิธีและกระบวนการสอนว่ามีตรงไหนที่เราคิดว่าไม่ถูกต้องควรปรับปรุงควรสอนแบบไหนก่อนก่อนที่จะไปสอนอีกแบบหนึ่งมีการถามให้เราเกิดความคิดและความเข้าใจในวิธีการสอนนั้นจริงๆและสามารถนำเทคนิคและวิธีการต่างๆไปสามารถใช้กับเด็กได้จริงในอนาคต มีการนำอุปกรณ์การประกอบอาหารมาให้นักศึกษาทำเพื่อที่สามารถนำไปใช้สอนกับเด็กในเรื่องของการประกอบอาหาร

  


วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย

Science Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
_________________________________________________________________

http://www.tci-thaijo.org/index.php/edujournal_nu/article/download/16913/15243

สรุปผลการวิจัย
จากการทดลองจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดย
ใช้วิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ และ
แบบสืบเสาะหาความรู้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า
1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น
พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้แบบโครงการ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น
พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัย หลังการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้สูงกว่าก่อนการจัด
ประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05
3. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้น
พื้นฐาน ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การ
เรียนรู้แบบโครงการกับแบบสืบเสาะหาความรู้ ไม่
แตกต่างกัน











โทรทัศน์ครู



Science Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
_________________________________________________________________



อนุบาลบ้านพลอยภูมิ 

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัยมุ่งเน้นพัฒนาการ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์–จิตใจ ด้านสติปัญญา ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมๆ กันทั้ง 4 ด้าน นอกจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ซึ่งเกี่ยวกับการทดลองต่างๆ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการทดลองให้เด็ก ๆ ได้ทดลองและลงมือปฏิบัติ เช่น การทดลองเกี่ยวกับแรงตึงผิว เริ่มจากการเทน้ำนมใส่จาน หยดสีลงไปในนม(สีเป็นสีผสมอาหารปลอดภัยกับเด็ก)แล้วหยดน้ำยาล้างจานลงไป เราจะเห็นนมไหลเวียนแล้วพาสีวิ่งเป็นสายและลวดลายต่าง ๆ สาเหตุก็คือน้ำยาล้างจานทำให้แรงตึงผิวลดลงไป นมที่อยู่ใกล้น้ำยาล้างจานจึงแตกกระจายและนมจากส่วนอื่นก็ไหลมาแทนที่(กลายเป็น"กระแสนม")และวิ่งชนสีและพาสีวิ่งไปด้วย กลายเป็นลวดลายต่าง ๆ ตอนแรกลักษณะของสีก็เป็นหยด ๆ ไม่มีการกระจายตัว เพราะว่านมมีแรงตึงผิวที่พยายามจะยึดผิวหน้าของน้ำนมไว้(ซึ่งแรงตึงผิวนี้เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของของเหลว)แต่เมื่อเราหยดน้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ผสมลงน้ำนม น้ำยาล้างจานซึ่งมีสารลดแรงตึงผิว ทำให้สีสามารถกระจายตัวออกไปในน้ำนม เมื่อเด็ก ๆ เห็นการกระจายตัวของสี   เด็ก ๆ ตื่นเต้นและอยากที่จะออกมาเป็นตัวแทนในการทำการทดลอง เด็กทุกคนจะได้ปฏิบัติคนละหนึ่งขั้นตอน เด็กที่ออกมาจะดีใจและภูมิใจที่ได้เป็นตัวแทนของเพื่อน ๆ การที่เด็กได้ทดลองวิทยาศาสตร์เด็กจะมีความตื่นเต้นว่าจะเกิดอะไรขึ้น และสนุกสนานเพลิดเพลิน ทำให้เด็กเกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูและเพื่อน รู้จักการรอคอย กล้าแสดงออก เด็กมีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น




มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Science Experiences Management for Early Childhood
ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
วัน เวลา วันอังคาร ที่ 11 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ภาคเรียนที่ 1/2557 กลุ่ม 102
เวลา 14:10 - 17:30 น. ห้อง 432
_____________________________________________________


ความรู้ที่ได้รับ

                     ความรู้ที่ได้รับคือ การจัดการเขียนแผน การนำเสนอ การสอนเด็กๆ การพูดกับเด็กๆ การว่างตัวที่ดีในการเป็นครูปฐมวัย

 ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆ ดังนี้
 กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ (ใช้แผนวันจันทร์) 
 กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใ(ช้แผนวันอังคาร)
 กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด(ใช้แผนวันพุธ)     
 กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใ(ช้แผนวันพฤหัสบดี)
 กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย(ใช้แผนวันศุกร์)        
 กลุ่มที่6 หน่วยช้าง(ใช้แผนวันจันทร์) 
 กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ(ใช้แผนวันอังคาร)     
 กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรด(ใช้แผนวันพุธ)
 กลุ่มที่9 หน่วยส้ม(ใช้แผนวันพฤหัสบดี)
***วันนี้มีการนำเสนองานทั้งหมด 6กลุ่ม อีก3กลุ่มนำเสนออาทิตย์ต่อไป***
คือ กลุ่มนกหงษ์หยก/กลุ่มสัปปะรด/และกลุ่มส้ม




                      การนำไปใช้คือ เราสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้และสิ่งที่อาจารย์สอนให้คำแนะนำในครั้งนี้ไปปรับใช้กับเด็กและพัฒนาการเด็กให้ดีขึ้น และฝึกความสามารถในการสอนเด็กการว่างตัวของเราได้อีกด้วยในการอยู่หน้าห้องเรียน

การประเมิน
                      ตนเอง : การเขียนแผนที่ไม่ค่อยจะเข้าใจมากสักเท่าไร การตอบคำถามของอาจารย์ไม่ชัดเจนและจับใจความไม่ค่อยรู้เรื่อง การนำเสนองานที่ไม่ค่อยชัดเจนไม่ตรงกับเป้าหมายที่คุณครูว่างไว้
                      เพื่อน : เพื่อนๆบ้างกลุ่มมีความพร้อมในการนำเสนองานและจัดสรรค์เวลาได้ดีการนำเสนองานออกมาดีด้วย ส่วนบางกลุ่มก็จะไม่มีการนำเสนองานเพราะการการฟังและการสื่อสารกันค่อยข้างที่จะไม่ชัดเจนจึงทำให้บ้างกลุ่มไม่ได้เตรียมตัวออกมานำสนองาน
                     อาจารย์ : ยังคงสอนแบบคำถามปลายเปิด แต่บ้างครั้งบางหัวข้ออาจารย์ถามคำถามปลายเปิดมาเกินไป จึงทำให้การสื่อสารหรือการสั่งงานไม่ชัดเจนเพราะคำถามปลายเปิดเป็นคำถามที่ตอบได้หลายรูปแบบจึงทำให้การเรียนครั้งนี้ ไม่ตรงกลับเป้าหมายที่ครูว่างไว้ ก็คือจะมีบางกลุ่มเตรียมงานมานำเสนอและจะมีบางกลุ่มไม่ได้เตรียมงานมานำเสนอและบ้างกลุ่มนำงานมาแต่ไม่ตรงหัวข้อที่อาจารย์ตั้งคำถามไว้นั้นเอง